เมนู

ผู้นั้นเป็นคนมีปัญญา มิใช่เป็นผู้มีปรกติกำ-
หนดด้วยปัญญาอยู่ด้วย ท่านจงรู้จักมุนี ว่า
เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ข้องอยู่แล้ว
ในกามและภพแม้อย่างนี้.

จบโตเทยยมาณวกปัญหาที่ 9

อรรถกถาโตเทยยสูตร1ที่ 9


โตเทยยสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมึ กามา ผู้ใดไม่มีกามทั้งหลาย
ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิโมกฺโข ตสฺส กีทิโส โตเทยยมาณพทูล
ถามว่า ความพ้นวิเศษอันผู้นั้นพึงปรารถนาเป็นอย่างไร.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่พ้นแก่โตเทยย-
มาณพนั้นจึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า วิโมกฺโข ตสฺส นาปโร
ได้แก่ ความพ้นอย่างอื่นของผู้นั้นไม่มี. แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้
ว่าความสิ้นตัณหาเท่านั้น ชื่อว่า ความพ้น ดังนี้ โตเทยยมาณพก็ยังไม่เข้าใจ
ความนั้นอยู่ดี จึงทูลถามอีกว่า นิราสโส โส อุท อาสสาโน ผู้นั้นไม่มี
ความปรารถนาหรือยังปรารถนาอยู่ ดังนี้เป็นต้น.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุท ปญฺญกปฺปี หรือยังเป็นผู้กำหนดด้วย
ปัญญาอยู่ คือ ยังกำหนดตัณหาหรือทิฏฐิ ด้วยญาณมีสมาปัตติญาณเป็นต้น.
1. บาลีว่า โตเทยยปัญหา.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกข้อนั้นแก่โตเทยยมาณพ
จึงตรัสคาถาที่สอง. ในบทเหล่านั้นบทว่า กามภเว คือในกาม และในภพ.
บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระสูตรแม้นี้
ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแหละ ด้วยประการฉะนี้.
เมื่อจบเทศนา ได้มีผู้บรรลุธรรมเช่นกับพระสูตรก่อนนั่นแล.
จบอรรถกถาโตเทยยสูตรที่ 9 แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

กัปปปัญหาที่ 10


ว่าด้วยธรรมเป็นที่พึ่ง


[434] กัปปมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอพระ-
องค์จงตรัสบอกซึ่งธรรมอันเป็นที่พึ่งของชน
ทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำแล้ว
ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลาย ผู้อยู่ในท่ามกลาง
สาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่ฉะนั้น
อนึ่ง ขอพระองค์จงตรัสบอกที่พึ่งแก่ข้า-
พระองค์โดยอุบายที่ทุกข์นี้ไม่พึงมีอีกเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนกัปปะ
เราจะบอกธรรม อันเป็นที่พึ่งของ
ชนทั้งหลาย ผู้อันชราและมรณะครอบงำ
แล้ว ดุจที่พึ่งของชนทั้งหลายผู้อยู่ในท่าม
กลางสาคร เมื่อคลื่นเกิดแล้ว มีภัยใหญ่
แก่ท่าน ธรรมชาติไม่มีเครื่องกังวล ไม่มี
ความถือมั่น นี้เป็นที่พึ่ง หาใช่อย่างอื่นไม่
เรากล่าวที่พึงอันเป็นที่สิ้นไปแห่งชรา และ
มรณะว่านิพพาน ชนเหล่าใดรู้นิพพานนั้น
แล้ว มีสติ มีธรรมอันเห็นแล้ว ดับกิเลสได้